โรงเรียนบ้านห้วยลาด ตั้งอยู่หมู่ที่ 4 ตำบลหลักด่าน อำเภอน้ำหนาว จังหวัดเพชรบูรณ์ตั้งอยู่พิกัด ละติจูด 16.96332625891898  ลองติจูด 101.50724217456059 ระยะทางอยู่ในการปกครององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์การบริหารส่วนตำบลหลักด่าน ระยะทางจากโรงเรียน ไปสำนักงานเขตพื้น        ที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 2  ระยะทาง 66 กิโลเมตร ระยะทางจากโรงเรียน ไปโรงเรียนขยายโอกาสที่ใกล้ที่สุด โรงเรียนบ้านหลักด่าน ระยะทาง            3.7 กิโลเมตร

          โรงเรียนบ้านห้วยลาด ที่ตั้ง 4 ตำบลหลักด่าน อำเภอน้ำหนาว จังหวัดเพชรบูรณ์  มีเนื้อที่ 42 ไร่ 30 ตารางวา เขตพื้นที่บริการ 3 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านโนนชาติ  บ้านห้วยลาดและบ้านกกก่อ

แผนที่ภายในโรงเรียนบ้านห้วยลาด

 

แผนที่แสดงเขตบริการของโรงเรียนบ้านห้วยลาด

ข้อมูลทั่วไปของชุมชน

          สภาพชุมชนรอบ  บริเวณโรงเรียนมีลักษณะ เป็นชุมชนเกษตรกรรม มีประชากรประมาณ 1,350 คน บริเวณใกล้เคียงโดยรอบโรงเรียนได้แก่ ถนน สระน้ำ และหมู่บ้าน อาชีพหลักของชุมชน คือ ทำไร่ข้าวโพด เนื่องจากต้องอาศัยน้ำจากธรรมชาติและเป็นอาชีพที่ทำสืบต่อจากบรรพบุรุษ ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ นิยมทำบุญตักบาตรตามประเพณีในเทศกาลวันสำคัญทางศาสนา ประเพณี/ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นที่รู้จักโดยทั่วไป คือ งานเลี้ยงปีเจ้าพ่อถ้ำใหญ่ และงานบุญบั้งไฟ

          ผู้ปกครอง ส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับ ประถมศึกษาปีที่ 6

                       ร้อยละ  98                       ประกอบอาชีพ   ทำไร่

                       ร้อยละ  99.70                   นับถือศาสนา     พุทธ

                       ฐานะทางเศรษฐกิจ/รายได้โดยเฉลี่ยต่อปี 50,000 บาท

          โอกาสและข้อจำกัดของโรงเรียน

          ◊  โอกาสของโรงเรียน ด้วยโรงเรียนตั้งอยู่ในที่เหมาะสมคือตั้งอยู่ระหว่างจุดศูนย์กลาง 3 หมู่บ้าน        ในเขตบริการของโรงเรียน  ซึ่งด้านหน้าโรงเรียนติดถนนสายหลัก ด้านข้างโรงเรียนติดถนนลาดยาง จึงทำให้นักเรียนเดินทางมาโรงเรียนด้วยความสะดวก และอีกประการหนึ่งโรงเรียนอยู่ใกล้แหล่งเรียนรู้หลายแหล่ง ซึ่งได้แก่ ถ้ำใหญ่น้ำหนาว องค์การบริหารส่วนตำบล และศูนย์การเรียนรู้น้ำหนาว จึงทำให้สะดวกต่อการ-เดินทางไปศึกษาแหล่งเรียนรู้ในชุมชน และนอกจากนี้ผู้บริหารสถานศึกษาได้ให้ความร่วมมือกับทุกหน่วยงานทั้งในชุมชนและนอกชุมชน จึงทำให้ได้รับความช่วยเหลือจากหน่วยงานในชุมชนและนอกชุมชนหลายด้าน ได้แก่ ด้านทุนการศึกษา ด้านอาหารกลางวัน อาหารเสริมนม อุปกรณ์เครื่องเขียน ด้านเสื้อผ้า ด้านสื่อ การเรียนการสอน เครื่องกรองน้ำ และจากการที่โรงเรียนและชุมชนได้มีความเข้าใจอันดีต่อกัน ประสานงานกันอยู่เสมอ ทำให้ชุมชนให้ความร่วมมือในด้านแรงงานในการพัฒนาโรงเรียนเป็นอย่างดี

  ◊  ข้อจำกัดของโรงเรียน ประชาชนในเขตบริการมีฐานะยากจนเพราะส่วนใหญ่ประกอบอาชีพหลัก คือ    ทำไร่ข้าวโพด โดยอาศัยน้ำจากธรรมชาติ คือน้ำฝน ปีหนึ่งปลูกพืชเศรษฐกิจได้ครั้งเดียว เศรษฐกิจจึงไม่-คล่องตัว ดังนั้นในการขอความร่วมมือในการบริจาคเงิน เพื่อสร้างสิ่งปลูกสร้างใดๆ จึงไม่บรรลุผลเท่าที่ควร

 

ใส่ความเห็น